สารานุกรมศึกษาศาสตร์ แหล่งข้อมูลความรู้ดีๆเกี่ยวกับโรคตาบอดสีที่คาดไม่ถึง




            สำหรับตัวผมนั้น ถ้าพูดถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับโรคตาบอดสี ก็จะคิดถึงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นหอสมุดแพทย์ สอบถามกับแพทย์ผู้รู้ หรือ เว็บทางการแพทย์ต่างๆ ซึ่งข้อมูลที่หามาได้นั้นก็น่าจะเป็นข้อมูลที่เข้าใจยากที่มีแต่ศัพท์ทางการแพทย์เต็มไปหมด แต่การไปหอสมุดของมหาวิทยาลัยรังสิตในวันนี้ ทำให้ผมได้พบกับแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับโรคตาบอดสีที่คาดไม่ถึง นั้นก็คือ สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ตัวหนังสือจะเป็นยังไงนั้น วันนี้ผมจะมารีวิวให้ทุกคนได้รู้กัน


            วารสารสารานุกรมศึกษาศาสตร์ แค่ชื่อก็ทำให้ประหลาดใจแล้วว่า สารานุกรมเนี้ยนะ ที่มีข้อมูลของโรคตาบอดสี ตอนแรกก็ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ แต่หลังจากการเข้าไปสอบถาม(ตบตี)กับ อาจารย์บรรณารักษ์ประจำศูนย์ห้องสมุด  ซึ่งหาข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือให้กับผม และได้ยืนยันว่า “ถ้าข้อมูลในเว็บบอกว่ามีก็คือมี ไปหามาอ่านซะเจ้าเด็กนิเทศน์” ซึ่งหลังจากการหลงในห้องสมุด ซึ่งเปรียบเสมือนดินแดนต่างมิติที่ผมไม่เคยสัมผัสมาก่อนอยู่นาน ผมก็ได้พบกับสารานุกรมศึกษาศาสตร์ จนได้




            ความรู้สึกแรกที่ได้เห็นหน้าปกของหนังสือเล่มนี้ ก็แอบหงุดหงิดในใจ ว่ามันเป็นหนังสือที่ประหลาดมาก เพราะหน้าปกของมันเป็นสีเขียวล้วนที่ไม่มีชื่อหนังสือเขียนไว้ตรงหน้าปก แต่เลือกที่จะเขียนไว้ตัวเล็กๆที่ขอบปก (ซึ่งกว่าจะเจอนั้นก็งมอยู่ในชั้นนี้อยู่นานกว่าจะเจอ)



            วารสารสารานุกรมศึกษาศาสตร์ เป็นสารานุกรมที่มีเนื้อหาค่อนข้างจะครอบคลุม กว้างขวางหลายเนื้อหา มีหลายๆเรื่องที่ผมไม่คิดว่าจะอยู่ในสารานุกรม ตาบอดสีก็หนึ่งในเรื่องนั้น ที่ผมไม่คิดว่าจะมีอยู่ในหนังสือเล่มนี้
            เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของตาบอดสีในหนังสือนั้น อ่านเข้าใจได้ไม่ยากจนเกินไป ถ้าใช้เวลาอ่านซัก 2 – 3 รอบ ก็จะเข้าใจในเนื้อหาได้ละเอียด เพราะใช้ภาษาที่ไม่ได้ทางการจนเกินไป และพยายามเลือกใช้ศัพท์ง่ายๆแทนศัพท์ทางการแพทย์ แต่ก็ยังคงชื่อโรคตามภาษาทางการไว้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ในเนื้อหานั้นค่อนข้างจะอธิบายเกี่ยวกับโรคตาบอดสี ได้อย่างชัดเจน อาจจะไม่ละเอียดมาก เพราะ น่าจะต้องการเขียนข้อมูลในหนังสือ ให้เป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานสำหรับให้คนทั่วไป ได้ศึกษา ไม่ได้เจาะลึกถึงศัพท์ทางการแพทย์ หรือ โครงสร้างของดวงตาอย่างละเอียด แต่ใช้การเปรียบเปรยอย่างง่ายๆ เช่น เปรียบ corn (สีในจอประสาทตา) เป็นกรวยหลายๆกรวยต่อกัน ซึ่งมีหน้าที่รับแสง และ สีต่างๆ ทำให้เราเห็นภาพได้เข้าใจง่ายขึ้น
            เนื้อหาในหนังสือนั้น ไม่ได้เยอะมาก มีอยู่เพียง 5 หน้าเท่านั้น แต่ก็พูดคลุมทุกประเด็นเกี่ยวกับโรคตาบอดสีไว้อย่างครบถ้วน สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคตาบอดสี อาการ และชนิดของโรค ที่มีหลากหลาย อธิบายถึงหลักการทำงานของจอประสาทตา การเห็นสีของคนปกติ และการเห็นสีของคนเป็นโรคตาบอดสี รวมถึง ผลกระทบในการใช้ชีวิตไว้อย่างคร่าวๆ ว่าไม่สามารถทำอาชีพใดได้บ้าง
            ข้อมูลโรคตาบอดสีในหนังสือเล่มนี้ ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่อ่านง่าย กระฉับ เหมาะสำหรับผู้อ่านทั่วๆไปที่เริ่มศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับโรคตาบอดสี เสียตรงที่ตัวเล่มหนังสือนั้นค่อนข้างหายาก ไม่ได้ดูเด่นสะดุดตา ต้องใช้การสังเกตดีๆถึงจะหาเจอ แต่ก็ยังโชคดีที่มีอาจารย์บรรณารักษ์ ที่คอยให้ความช่วยเหลืออยู่ในห้องสมุด (อาจจะดุหน่อยแต่ก็ช่วยเรานะ) หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือที่ผมแนะนำให้ทุกคนที่สนใจในโรคตาบอดสี ได้อ่านกันครับ

           หนังสือเล่มนี้อยู่ที่ชั้น 4 ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยรังสิต หรือ อาคาร 7 สำหรับใครที่สนใจก็ขึ้นไปหามาอ่านกันได้เลยครับ


ขอขอบคุณ  หอสมุดมหาวิทยาลัยรังสิต สำหรับข้อมูลหนังสือ 
ขอขอบคุณ วารสารสารานุกรมศึกษาศาสตร์สำหรับข้อมูลในการเขียนรีวิว
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.  ตาบอดสี.  สารานุกรมศึกษาศาสตร์.  22(2544).  17-23 :  มกราคม 2544.




สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
รีวิวหนังสือ โดย colorblindnosee.blogspot อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ https://colorblindnosee.blogspot.com/.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น